ตอบ 1 รูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้าง
รูปแบบที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมักจะไม่สามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้ ซึ่งมี รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น แบบดาว และแบบวงแหวน
1.2 รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น
ระบบเครือข่ายที่มีเครื่องเมนเฟรมเป็นองค์ประกอบหลักมักจะมีการจัด โครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical Topology) ซึ่งมีเครื่องโฮสต์อยู่ที่ตำแหน่งบนสุด เรียกว่า ราก (Root) ของโครงสร้างนี้ เครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (Front End-processors) ถูกวางอยู่ใน ระดับรองลงมา คอนโทรลเลอร์ (Controller) และมัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) อยู่ในระดับต่อลงมา โดยมีเทอร์มินอลทั้งหมดอยู่ที่ระดับล่างสุดของโครงสร้างในระบบที่มีความซับซ้อนมาก คือมีจำนวนเทอร์มินอลและอุปกรณ์อยู่มากก็อาจจะมีคอนโทรลเลอร์ และมัลติเพล็กเซอร์ซ้อนกันอยู่หลายระดับ การจัดโครงสร้างเป็นแบบหลายระดับชั้นสามารถตอบสนองการทำงานกับเครื่องเมนเฟรมได้เป็น อย่างดีเนื่องจากอุปกรณ์ที่อยู่ในระดับกลางนั้นจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งมายังโฮสต์ซึ่งโฮสต์สามารถใช้เวลาในช่วงนี้ไปทำงานอื่นที่มีประโยชน์มากกว่าได้
ภาพที่ 1.1 แสดง รูปแบบโครงสร้าง เครือข่ายแบบลำดับชั้น
องค์กรขนาดใหญ่ก็มักจะใช้โครงสร้างแบบลำดับชั้น เช่น ธนาคารมักจะมีเครื่องเมนเฟรมติดตั้งอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยปกติเครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ที่เชื่อมต่อกับเมนเฟรมโดยตรงจะเชื่อมต่อเข้ากับเทอร์มินอลได้ไม่มากนัก ถ้าต้องการใช้งานหลาย ๆ เครื่องจะต้องมีเครื่องคอนโทรลเลอร์ควบคุมอีกที่หนึ่ง จะเห็นว่าสาขาของธนาคารแต่ละแห่งจะมีคอนโทรลเลอร์เพื่อควบคุมการทำงานของเทอร์มินอลทุกตัวในสาขานั้นรวมทั้งเครื่องพิมพ์ เครื่องเอทีเอ็ม และอุปกรณ์อื่นด้วย โครงสร้างแบบลำดับชั้นมีข้อเด่นที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการแบ่งแยกการทำงานของอุปกรณ์ในระบบอย่างเป็นสัดส่วน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เช่น ในกรณีที่เครื่องคอนโทรลเลอร์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็จะไม่มีผลกระทบไปยังการทำงานของอุปกรณ์ตัวอื่น นอกจากอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับคอนโทรลเลอร์ตัวนั้น
ภาพที่ 1.2 แสดงระบบเครือข่ายแบบโครงสร้างลำดับชั้นในธนาคาร
ข้อดีและข้อเสียของโครงสร้างแบบเครือข่าย
คือเรคอร์ดแต่ละประเภท สามารถใช้เป็นเรคอร์ดนำได้โดยกล่าวถึงก่อน ส่วนการซ้ำซ้อนของข้อมูลจะมีน้อยมากเนื่องจากเรคอร์ดสมาชิกสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น รายละเอียดของหนังสือหนึ่งเล่มอาจจะแต่งจากผู้แต่งหลายคน จึงสามารถใช้ร่วมกันได้ ข้อเสีย ความสัมพันธ์ของเรคอร์ดประเภทต่างๆไม่ควรจะเกิน 3 ประเภท เช่น ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ หากมีความสัมพันธ์หลายประเภท อาจจะออกแบบเครือข่ายไม่ได้หรือยุ่งยากขึ้น เนื่องจากมีข้อจำกัดในการออกแบ
1.3 รูปแบบโครงสร้างแบบดาว
รูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) ซึ่งได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างมาก จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบโดยมีอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรงในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอ การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้น
ภาพที่ 1.3 แสดงระบบเครือข่ายแบบดาว
จากภาพแสดงการเชื่อมต่อโครงสร้างแบบดาวโดยใช้ตู้สลับสัญญาณพีบีเอ็กซ์ (Private Branch Exchange; PBX) ทำหน้าที่แทนคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางของระบบเครื่องโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณ์อื่นจะเชื่อมต่อโดยตรงแบบจุด - ต่อ - จุดเข้ากับตู้พีบีเอ็กซ์ ดังนั้นข้อมูลจึงต้องเดินทางผ่านตู้นี้เสมอ การติดต่อไปยังระบบเครือข่ายภายนอกก็ต้องติดต่อผ่านตู้นี้เช่นกัน
ระบบเครือข่ายโครงสร้างแบบดาวมีจุดอ่อนเช่นเดียวกับระบบที่ใช้โครงสร้างลำดับชั้นนั่นคือถ้าคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางหยุดทำงาน ระบบเครือข่ายนั้นก็จะใช้การไม่ได้ทั้งระบบ ในองค์กรที่ต้องการความเชื่อใจในระบบสูงจะใช้วิธีจัดตั้งอุปกรณ์ที่ศูนย์กลางแบบซ้ำซ้อน คือมีอยู่สองเครื่อง โดยปกติจะใช้เครื่องหลักทำงาน ถ้าเครื่องหลักไม่สามารถทำงานได้ก็จะสลับมาใช้เครื่องสำรองให้ทำงานต่อไปได้ในทันที
ข้อดี
-เปลี่ยนรูปแบบการวางสายได้ง่าย
-สามารถเพิ่ม node ได้ง่าย
-ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย
ข้อเสีย
-ต้องใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
-มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูง
-การเชื่อมต่อจากศูนย์กลางทำให้มีโอกาสที่ระบบเครือข่าย จะล้มเหลวพร้อมกันได้ง่าย
1.4 รูปแบบโครงสร้างแบบวงแหวน
โดยปกติโครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology) นิยมใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณมากกว่า แต่การจัดรูปแบบวงแหวนกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ก็สามารถทำได้ โดยเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ กันจะถูกเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด ไปยังเซิร์ฟเวอร์ข้างเคียง และเชื่อมต่อกันไปตามลำดับ เซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระดับสุดท้ายจะเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ลำดับแรก ทำให้เชื่อมต่อครบเป็นวงจรรูปแบบวงแหวน
ภาพที่ 1.4 แสดงระบบเครือข่ายวงแหวน
เซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวนั้นส่วนใหญ่จะเป็นโฮสต์ของระบบเครือข่ายของตนเองซึ่งอาจมีโครงสร้างแบบแตกต่างกันก็ได้ เช่น กรณีที่มีโฮสต์อยู่หลาย ๆ ตัวติดตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ โฮสต์ส่วนหนึ่งอาจมีโครงสร้างแบบลำดับชั้นในขณะที่ส่วนที่เหลือมีโครงสร้างแบบดาว โครงสร้าง แบบวงแหวนช่วยให้โฮสต์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อกับโฮสต์เครื่องอื่นที่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกันได้ทุกเครื่องโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเชื่อมต่อโดยตรงไปยังทุกโฮสต์
ข้อดี
-มีการใช้สายเคเบิลน้อย -มีประสิทธิภาพสูง แม้ว่าการจราจรของข้อมูลในเครือข่ายจะมาก
ข้อเสีย
-ถ้ามี node ที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในระบบจะกระทบกับทั้งเครือข่าย -การตรวจหาปัญหาทำได้ยาก -การเปลี่ยนแปลงเครือข่ายทำได้ยากและอาจต้องหยุดการใช้งานเครือข่ายชั่วคราว
2.รูปแบบโครงสร้าง (Topology) ระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบาย และบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภท
ตอบ 2.1 รูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่าย
รูปแบบโครงสร้าง (Topology) หมายถึง รูปแบบการวางตำแหน่ง (Physical Configuration or Layout) ของอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้าง รูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายเขตเมืองมีรายละเอียดดังนี้
2.1.1 รูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้าง
รูปแบบที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมักจะไม่สามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้ ซึ่งมี รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น แบบดาว และแบบวงแหว
2.1.2 รูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายเขตเมือง
ระบบเครือข่ายเขตเมือง (Metropolitan Area Network) ถูกออกแบบมาให้มีขอบเขตการใช้งานระหว่างระบบเครือข่ายวงกว้างกับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ เนื่องจากโครงสร้างของระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณไม่สามารถสนับสนุนการทำงานขององค์กรขนาดกลาง (Corporation) ได้ ในขณะที่ระบบเครือข่ายวงกว้างก็มีขอบเขตที่ใหญ่เกินไป ระบบเครือข่ายแบบนี้จึงมักจะใช้โครงสร้างแบบบัสหรือแบบวงแหวนซึ่งมีความคล่องตัวในการใช้งานในเขตเมืองได้ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น