1.มีโพรโทคอลอะไรบ้าง และแต่ละโพรโทคอลมีหน้าที่ทำอะไร
ตอบ ประเภทของโพรโทคอล เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารแต่ละชนิดจะใช้โพรโทคอลต่างชนิดกัน เช่น เครื่องเมนเฟรมก็จะมีโพรโทคอลของตนเอง ซึ่งจะไม่เหมือนกับโพรโทคอลที่ใช้งานในเครื่องพีซีในทำนองเดียวกัน ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณก็ใช้โพรโทคอลที่แตกต่างไปจากโพรโทคอลที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง แม้ว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ออกมามากมายเพื่อทำให้โพรโทคอลสำหรับเครื่องชนิดเดียวกันหรือระบบเครือข่ายแบบเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่ก็ไม่มีวิธีการหรือ สูตรสำเร็จที่ใช้ในการแยกประเภทของโพรโทคอลโดยตรง เช่น โพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรมและโพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ตสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลเครื่องพีซีสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย และโพรโทคอลสำหรับเครื่องพีซีตระกูลแอปเปิล (Apple Macintosh) โพรโทคอลทั้งหมดในกลุ่มนี้จะอยู่ในประเภทโพรโทคอลชั้น เชื่อมต่อข้อมูล เนื่องจากมีการกำหนดรายละเอียดการทำงานในระดับชั้นเชื่อมต่อข้อมูลตามมาตรฐานรูปแบบโอเอสไอ
1.1 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง
ระบบเครือข่ายเริ่มต้นขึ้นมาจากการสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างที่เชื่อมต่อกับเครื่อง เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โพรโทคอลต่าง ๆ ถูกนำมาใช้งานและรวมกันเป็นโพรโทคอลที่ใช้อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มักไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงแต่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลปริมาณมาก ๆ เป็นระยะทางไกล ข้อกำหนดของโพรโทคอลจึงต้องจัดการเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการนำส่งข้อมูล
1.2 โพรโทคอลบนเครื่องเมนเฟรม
โพรโทคอลที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจการสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนใหญ่และมักจะขยายขอบเขตการใช้งาน สำหรับระบบ เครือข่ายวงกว้างด้วยตัวระบบเครือข่ายวงกว้างนั้นถูกนำไปใช้ในกิจการทางทหารตั้งแต่ ค.ศ. 1950 และนำมาใช้งานทางพลเรือนต่อมาโพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรม ได้แก่ โพรโทคอลจัดการระดับ ตัวอักษร โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ และโพรโทคอลจัดการระดับบิต นอกจากนี้ยังมี โพรโทคอล H.323 สำหรับการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ทางไกล และโพรโทคอล X.25 สำหรับการใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ
(1) โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร
โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร (Character–Oriented or Character Synchronous Protocols) เป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรม ซึ่งกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรประกอบด้วยข้อมูลขนาด 8 บิต แบบที่แพร่หลายที่สุดเรียกว่า แบบบีเอสซี (Binary Synchronous Communication; BSC or BISYNC) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปเป็นกลุ่มของตัวอักษรแบบ Synchronous ในลักษณะกึ่งสองทิศทาง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ในปี พ.ศ. 2510 และได้กลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมในยุดนั้น แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่มากในปัจจุบัน
โพรโทคอลบีเอสซี ใช้ตัวอักษรพิเศษกลุ่มหนึ่งสำหรับการควบคุมการทำงาน เช่น การส่งตัวอักษร SYN ในจังหวะที่เหมาะสมเพื่อให้โมเด็มทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถปรับจังหวะการทำงานให้สอดคล้องกัน ตัวอักษรพิเศษตัวอื่นใช้สำหรับการล้อมกรอบข้อมูลจริงเพื่อแสดงความหมาย ตัวอักษร STX ใช้บอกจุดเริ่มต้นของข้อมูล ตัว SOH แสดงจุดเริ่มต้นของข้อมูลควบคุม ตัว ETX บอกจุดสิ้นสุดของข้อมูล ตัว ETB บอกการสิ้นสุดการติดต่อ และตัว SYN ตัวอักษรควบคุมแต่ละตัวจะมีขนาด 8 บิตเท่ากันทั้งหมด
ปัญหาสำหรับโพรโทคอลบีเอสซี ที่มักจะไม่เกิดกับโพรโทคอลแบบอื่นคือ ในกรณีที่ข้อมูลจริงมีตัวอักษรที่ซ้ำกับตัวอักษรควบคุมแล้วจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถแยกความแตกต่างจากกันได้ ซึ่งเรียกปัญหานี้ว่า Transparency เช่น ข้อมูลจริงมีตัวอักษรที่เหมือนกับตัว EOT แทรกอยู่ เมื่อทางฝ่ายรับข้อมูลรับตัวอักษรนี้เข้าไปก็จะเข้าใจว่านี่คือจุดสิ้นสุดของข้อมูล แต่ ความจริงเป็นเพียงข้อมูลตัวหนึ่งเท่านั้น โพรโทคอลบีเอสซี แก้ไข้ปัญหานี้ด้วยการเพิ่มตัวอักษรพิเศษ DLE ใช้วางไว้ก่อนหน้าตัวอักษรพิเศษตัวอื่น ๆ ดังนั้นถ้าผู้รับไม่พบตัว DLE ก็จะมองตัวอักษรนั้น ๆ เป็นเพียงข้อมูลธรรมดา วิธีการนี้เรียกว่าทำงานใน Transparent Mode ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่ก็ ทำให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูล โพรโทคอล บีเอสซี ทำงานในแบบกึ่งสองทิศทางคือ ผู้รับและผู้ส่งจะต้องผลัดเปลี่ยนกันส่งข้อมูล หลังจากที่ผู้ส่งได้ส่งข้อมูลทั้งหมดออกไปแล้ว ก็จะต้องคอยการตอบรับ (ACK) หรือการตอบปฏิเสธ (NAK) จากผู้รับ ดังนั้นโพรโทคอลนี้จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในการส่งแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่หรืองานที่ใช้ในการ โต้ตอบระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูลอยู่เสมอ
(2) โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์
โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ (Byte-Count-Oriented Protocols) ปรับปรุงประสิทธิภาพของโพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษรพิเศษโดยการเพิ่มข้อมูล จำนวนไบต์ของข้อมูลในบล็อก หมายเลขที่อยู่บนเครือข่าย และตัวอักษรควบคุมบล็อกเข้าไปแทน
(3) โพรโทคอลจัดการระดับบิต
โพรโทคอลจัดการระดับบิต (Bit-Oriented Protocols) เป็นแนวทางการทำงานที่รวมข้อมูลจริงและข้อมูลควบคุมเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างเรียกว่าเฟรม (Frame) ซึ่งจะต้องกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลแต่ละส่วนออกไปใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ได้กำหนดโพรโทคอลประเภทนี้ขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
(4) โพรโทคอลเอสเอ็นเอ
รูปแบบโครงสร้างแบบเอสเอ็นเอ (System Network Architecture; SNA) เป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างสำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมกับเทอร์มินอลที่มีใช้งานมานานแล้ว บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบเอสเอ็นเอขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยการกำหนดรายละเอียดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาในความแตกต่างของอุปกรณ์ในยุคนั้น เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มเป็นเจ้าของระบบเอสเอ็นเอ จึงเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็มเป็นหลัก อย่างไรก็ตามมีบริษัทอื่นอีกเป็นจำนวนมากที่ได้นำระบบเครือข่ายนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านั้นสามารถติดต่อกับระบบเครือข่ายของไอบีเอ็มและของผู้อื่นได้ ปัจจุบันระบบเอสเอ็นเอยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีระบบเครือข่ายอื่นที่ดีเกิดขึ้นมากมาย
(5) โพรโทคอล H.323
การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้
(6) โพรโทคอล X.25
คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25 ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับ
1.3 โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ต
โพรโทคอลที่ใช้สำหรับระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการกำหนดวิธีการติดต่อ สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่ายโพรโทคอลนี้จึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ เช่น โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 โพรโทคอลสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(1) โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี
โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol; TCP/IP) ได้รับการพัฒนาในปี พ.ศ. 2516 เพื่อใช้ในระบบเครือข่าย ARPANet ซึ่งเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน จึงจัดเป็นโพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้างรุ่นแรกที่มีการใช้งาน ต่อมาจึงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถอื่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเชื่อมต่อทางไกล (Remote Login) การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล (File Transfer) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) และการค้นหาเส้นทางข้อมูล (Routing) รวมทั้งสามารถใช้งานบนเครื่องพีซีได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2526 โพรโทคอลทีซีพี-ไอพีได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งโฮสต์ทุกโฮสต์จะต้องใช้โพรโทคอลนี้
(2) โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6
โพรโทคอลไอพีรุ่นล่าสุดเรียกว่า โพรโทคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (Internet Protocol Version 6; IPv6) หรือเรียกว่า Internet Protocol Next Generation; IPNG รุ่นที่ใช้งานในปัจจุบันคือโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 4 (Internet Protocol Version 4; IPv4) โพรโทคอลรุ่นใหม่ได้ขยายขนาดของที่อยู่จาก 32 บิตเป็น 128 บิต ซึ่งช่วยให้ระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่เติบโตได้อีกมาก ส่วนรุ่นปัจจุบันนี้ก็จะเริ่มถึงจุดที่ไม่สามารถขยายตัวได้อีก
(3) โพรโทคอลสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
โพรโทคอลที่สร้างขึ้นมาสำหรับการให้บริการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail) ได้แก่ โพรโทคอล X.400 X.500 และ SMTP โดยเฉพาะ โพรโทคอล X.400 เป็นมาตรฐานที่กำหนดวิธีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก มีโครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical) โดยมีชื่อประเทศอยู่ชั้นบนสุด ตามด้วยประเภทองค์กร ชื่อองค์กร และปิดท้ายด้วยชื่อผู้รับ เนื่องจากเป็นการทำงานที่ติดต่อกับโปรแกรมผู้ใช้โดยตรง โพรโทคอลนี้จึงจัดอยู่ในชั้นสื่อสารโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลโอเอสไอ
(4) โพรโทคอลแบบอื่น ๆ สำหรับระบบอินเทอร์เน็ต
โพรโทคอลแบบอื่นอีกจำนวนหนึ่งทำงานอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บริการในด้านต่าง ๆ กัน เช่น โพรโทคอลเอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) ใช้สำหรับการสร้างสำเนาแฟ้มข้อมูล (Copy File) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตัวโพรโทคอลเอฟทีพีจะทำหน้าที่ในระดับชั้นสื่อสารโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพีไอพี ที่อยู่ในชั้นสื่อสารระดับล่าง ความนิยมของผู้ใช้ทั่วไปทำให้โพรโทคอลนี้กลายเป็นส่วนประกอบของโปรแกรมอื่นโดยเฉพาะโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อย่างไออี (IE) หรือเนสเคป (Netscape)
1.4 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
การนำเครื่องพีซีจำนวนหนึ่งมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายในบริเวณที่จำกัด เช่น ภายในห้องทำงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลและอุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน ลักษณะโครงสร้างคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้เรียกว่าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ในขณะที่โครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า ระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลที่มีใช้งานกับเครื่องเมนเฟรมมักจะเป็นแบบที่เรียกว่า Proprietary คือมีคุณลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นใช้งานกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ในระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณมีกระบวนการสร้างขึ้นมาใช้งานต่างออกไป กล่าวคือผู้ใช้มักจะเป็นผู้สร้างระบบ ขึ้นมาเอง
1.5 โพรโทคอล X. PC
โพรโทคอล X.PC ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Tymnet สำหรับการเปลี่ยน รูปแบบของข้อมูลที่ส่งมาในแบบอะซิงโครนัสให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งออกไปทางระบบเครือข่ายแบบสวิทซิ่งได้ นั่นคือการแปลงข้อมูลแบบอะซิงโครนัสที่ส่งมาจากเครื่องพีซีเพื่อส่งออกไปทางระบบเครือข่าย X.25 ซึ่งทำงานในระบบซิงโคนัส โพรโทคอลนี้ยังช่วยให้เครื่องพีซีสามารถเปิดช่องสื่อสาร (Session) ได้มากกว่าหนึ่งช่องทางพร้อมกัน ซึ่งหมายถึงคือเครื่องพีซีสามารถติดต่อกับโฮสต์หลายโฮสต์ได้พร้อมกัน และยังมาใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องพีซีด้วยกันเอง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลแบบซ้ำซ้อนแบบวนซ้ำ (CRC) เหมือนกับโพรโทคอลเคอร์มิท
1.6 โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต
โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต (Ethernet Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Xerox Corporation เป็นโพรโทคอลที่สร้างขึ้นมาเป็นกลุ่มแรกสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แม้ว่าโพรโทคอลนี้จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดหรือไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนมากนักทั้งในการติดตั้งและในระหว่างการใช้งาน และมีความไว้วางใจได้ในระดับที่ดีมาก ระบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 Mbps ในรุ่นใหม่ เรียกว่า Fast Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 100 Mbps และรุ่นล่าสุด เรียกว่า Gigabit Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 1,000 Mbps
1.6.1 โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น
โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น (Token Passing) ปรับปรุงวิธีการใช้สายสื่อสารของโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โพรโทคอลนี้จะใช้ข้อมูลพิเศษเรียกว่า โทเก้น (Token) ซึ่งมีขนาดหลายบิตส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายเดียวกัน อุปกรณ์ใดต้องการส่งข้อมูลก็จะต้องมีโทเก้นไว้ในครอบครองก่อน
1.7 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สายนับว่าเป็นระบบที่ใหม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายแบบอื่น การออกแบบโพรโทคอลจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการส่งข้อมูลในรูปแบบของคลื่นวิทยุและการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอื่น โพรโทคอลสองแบบที่นิยมนำมาใช้งานคือ CDPD และ WAP
1.7.1 โพรโทคอล CDPD
โพรโทคอล CDPD (Cellular Digital Packet Data) หรือ Wireless IP ช่วยให้ ผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์สื่อสารโมเด็มแบบไร้สายสามารถส่งแพ็กเกตข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแพ็กเกตสวิท ไร้สาย (Wireless Packet Switched Digital Network) โพรโทคอล CDPD ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ที่ความเร็วไม่เกิน 19.2 Kbps โดยการส่งสัญญาณสลับกับเสียงสนทนาที่ใช้ความถี่เดียวกันในช่องสัญญาณเดียวกัน
1.7.2 โพรโทคอล WAP
โพรโทคอล WAP (Wireless Application Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากษริษัท Motorola, Nokia และ Phone.Com ในปี พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ให้บริการสำหรับโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งในที่นี้ยังคงจำกัดเพียงโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์เท่านั้น โพรโทคอลนี้ควบคุมการทำงานจากผู้ส่งข้อมูลไปจนถึงตัวผู้รับข้อมูล ซึ่งมีลักษณะแบบ Client/Server ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นจะต้องติดตั้งโปรแกรมควบคุมประเภท Client Software เรียกว่า WAP-enabled ส่วนผู้ให้บริการก็จะต้องติดตั้งโปรแกรม Server Software สำหรับควบคุมการติดต่อจากผู้ใช้ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
1.7.3 โพรโทคอล Apple Talk
บริษัท Apple Computers ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องพีซีอีกแบบหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ได้ออกแบบโพรโทคอลสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่อง Macintosh ของตนเองเข้าด้วยกัน เรียกว่า Apple Talk (เพื่อแข่งขันกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีในตระกูลไอบีเอ็ม) โพรโทคอลนี้ใช้วิธีการทำงานแบบ CSMA เหมือนกับที่ใช้บนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต แต่ไม่ใช้การตรวจจับสัญญาณซ้อนแบบ Carrier Detect (CD) บริษัทฯ ได้พัฒนาวิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดสัญญาณซ้อน เรียกว่า CA (Collision Avoidance) เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โพรโทคอลนี้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้มากที่สุดเพียง 32 เครื่อง และส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 230 Kbps ภายในระยะ 1,000 ฟุตเท่านั้น แต่ก็มีข้อดีตรงที่อุปกรณ์ระบบเครือข่ายจะติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบเครือข่ายได้ในทันที ซึ่งโครงสร้างของโพรโทคอล Apple Talk ที่สอดคล้องกับรูปแบบโอเอสไอดังภาพ
ตอบ ประเภทของโพรโทคอล เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารแต่ละชนิดจะใช้โพรโทคอลต่างชนิดกัน เช่น เครื่องเมนเฟรมก็จะมีโพรโทคอลของตนเอง ซึ่งจะไม่เหมือนกับโพรโทคอลที่ใช้งานในเครื่องพีซีในทำนองเดียวกัน ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณก็ใช้โพรโทคอลที่แตกต่างไปจากโพรโทคอลที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง แม้ว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ออกมามากมายเพื่อทำให้โพรโทคอลสำหรับเครื่องชนิดเดียวกันหรือระบบเครือข่ายแบบเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่ก็ไม่มีวิธีการหรือ สูตรสำเร็จที่ใช้ในการแยกประเภทของโพรโทคอลโดยตรง เช่น โพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรมและโพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ตสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลเครื่องพีซีสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย และโพรโทคอลสำหรับเครื่องพีซีตระกูลแอปเปิล (Apple Macintosh) โพรโทคอลทั้งหมดในกลุ่มนี้จะอยู่ในประเภทโพรโทคอลชั้น เชื่อมต่อข้อมูล เนื่องจากมีการกำหนดรายละเอียดการทำงานในระดับชั้นเชื่อมต่อข้อมูลตามมาตรฐานรูปแบบโอเอสไอ
1.1 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง
ระบบเครือข่ายเริ่มต้นขึ้นมาจากการสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างที่เชื่อมต่อกับเครื่อง เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โพรโทคอลต่าง ๆ ถูกนำมาใช้งานและรวมกันเป็นโพรโทคอลที่ใช้อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มักไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงแต่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลปริมาณมาก ๆ เป็นระยะทางไกล ข้อกำหนดของโพรโทคอลจึงต้องจัดการเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการนำส่งข้อมูล
1.2 โพรโทคอลบนเครื่องเมนเฟรม
โพรโทคอลที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจการสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนใหญ่และมักจะขยายขอบเขตการใช้งาน สำหรับระบบ เครือข่ายวงกว้างด้วยตัวระบบเครือข่ายวงกว้างนั้นถูกนำไปใช้ในกิจการทางทหารตั้งแต่ ค.ศ. 1950 และนำมาใช้งานทางพลเรือนต่อมาโพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรม ได้แก่ โพรโทคอลจัดการระดับ ตัวอักษร โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ และโพรโทคอลจัดการระดับบิต นอกจากนี้ยังมี โพรโทคอล H.323 สำหรับการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ทางไกล และโพรโทคอล X.25 สำหรับการใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ
(1) โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร
โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร (Character–Oriented or Character Synchronous Protocols) เป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรม ซึ่งกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรประกอบด้วยข้อมูลขนาด 8 บิต แบบที่แพร่หลายที่สุดเรียกว่า แบบบีเอสซี (Binary Synchronous Communication; BSC or BISYNC) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปเป็นกลุ่มของตัวอักษรแบบ Synchronous ในลักษณะกึ่งสองทิศทาง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ในปี พ.ศ. 2510 และได้กลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมในยุดนั้น แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่มากในปัจจุบัน
โพรโทคอลบีเอสซี ใช้ตัวอักษรพิเศษกลุ่มหนึ่งสำหรับการควบคุมการทำงาน เช่น การส่งตัวอักษร SYN ในจังหวะที่เหมาะสมเพื่อให้โมเด็มทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถปรับจังหวะการทำงานให้สอดคล้องกัน ตัวอักษรพิเศษตัวอื่นใช้สำหรับการล้อมกรอบข้อมูลจริงเพื่อแสดงความหมาย ตัวอักษร STX ใช้บอกจุดเริ่มต้นของข้อมูล ตัว SOH แสดงจุดเริ่มต้นของข้อมูลควบคุม ตัว ETX บอกจุดสิ้นสุดของข้อมูล ตัว ETB บอกการสิ้นสุดการติดต่อ และตัว SYN ตัวอักษรควบคุมแต่ละตัวจะมีขนาด 8 บิตเท่ากันทั้งหมด
ปัญหาสำหรับโพรโทคอลบีเอสซี ที่มักจะไม่เกิดกับโพรโทคอลแบบอื่นคือ ในกรณีที่ข้อมูลจริงมีตัวอักษรที่ซ้ำกับตัวอักษรควบคุมแล้วจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถแยกความแตกต่างจากกันได้ ซึ่งเรียกปัญหานี้ว่า Transparency เช่น ข้อมูลจริงมีตัวอักษรที่เหมือนกับตัว EOT แทรกอยู่ เมื่อทางฝ่ายรับข้อมูลรับตัวอักษรนี้เข้าไปก็จะเข้าใจว่านี่คือจุดสิ้นสุดของข้อมูล แต่ ความจริงเป็นเพียงข้อมูลตัวหนึ่งเท่านั้น โพรโทคอลบีเอสซี แก้ไข้ปัญหานี้ด้วยการเพิ่มตัวอักษรพิเศษ DLE ใช้วางไว้ก่อนหน้าตัวอักษรพิเศษตัวอื่น ๆ ดังนั้นถ้าผู้รับไม่พบตัว DLE ก็จะมองตัวอักษรนั้น ๆ เป็นเพียงข้อมูลธรรมดา วิธีการนี้เรียกว่าทำงานใน Transparent Mode ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่ก็ ทำให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูล โพรโทคอล บีเอสซี ทำงานในแบบกึ่งสองทิศทางคือ ผู้รับและผู้ส่งจะต้องผลัดเปลี่ยนกันส่งข้อมูล หลังจากที่ผู้ส่งได้ส่งข้อมูลทั้งหมดออกไปแล้ว ก็จะต้องคอยการตอบรับ (ACK) หรือการตอบปฏิเสธ (NAK) จากผู้รับ ดังนั้นโพรโทคอลนี้จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในการส่งแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่หรืองานที่ใช้ในการ โต้ตอบระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูลอยู่เสมอ
(2) โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์
โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ (Byte-Count-Oriented Protocols) ปรับปรุงประสิทธิภาพของโพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษรพิเศษโดยการเพิ่มข้อมูล จำนวนไบต์ของข้อมูลในบล็อก หมายเลขที่อยู่บนเครือข่าย และตัวอักษรควบคุมบล็อกเข้าไปแทน
(3) โพรโทคอลจัดการระดับบิต
โพรโทคอลจัดการระดับบิต (Bit-Oriented Protocols) เป็นแนวทางการทำงานที่รวมข้อมูลจริงและข้อมูลควบคุมเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างเรียกว่าเฟรม (Frame) ซึ่งจะต้องกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลแต่ละส่วนออกไปใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ได้กำหนดโพรโทคอลประเภทนี้ขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
(4) โพรโทคอลเอสเอ็นเอ
รูปแบบโครงสร้างแบบเอสเอ็นเอ (System Network Architecture; SNA) เป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างสำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมกับเทอร์มินอลที่มีใช้งานมานานแล้ว บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบเอสเอ็นเอขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยการกำหนดรายละเอียดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาในความแตกต่างของอุปกรณ์ในยุคนั้น เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มเป็นเจ้าของระบบเอสเอ็นเอ จึงเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็มเป็นหลัก อย่างไรก็ตามมีบริษัทอื่นอีกเป็นจำนวนมากที่ได้นำระบบเครือข่ายนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านั้นสามารถติดต่อกับระบบเครือข่ายของไอบีเอ็มและของผู้อื่นได้ ปัจจุบันระบบเอสเอ็นเอยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีระบบเครือข่ายอื่นที่ดีเกิดขึ้นมากมาย
(5) โพรโทคอล H.323
การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้
(6) โพรโทคอล X.25
คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25 ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับ
1.3 โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ต
โพรโทคอลที่ใช้สำหรับระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการกำหนดวิธีการติดต่อ สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่ายโพรโทคอลนี้จึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ เช่น โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 โพรโทคอลสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(1) โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี
โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol; TCP/IP) ได้รับการพัฒนาในปี พ.ศ. 2516 เพื่อใช้ในระบบเครือข่าย ARPANet ซึ่งเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน จึงจัดเป็นโพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้างรุ่นแรกที่มีการใช้งาน ต่อมาจึงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถอื่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเชื่อมต่อทางไกล (Remote Login) การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล (File Transfer) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) และการค้นหาเส้นทางข้อมูล (Routing) รวมทั้งสามารถใช้งานบนเครื่องพีซีได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2526 โพรโทคอลทีซีพี-ไอพีได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งโฮสต์ทุกโฮสต์จะต้องใช้โพรโทคอลนี้
(2) โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6
โพรโทคอลไอพีรุ่นล่าสุดเรียกว่า โพรโทคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (Internet Protocol Version 6; IPv6) หรือเรียกว่า Internet Protocol Next Generation; IPNG รุ่นที่ใช้งานในปัจจุบันคือโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 4 (Internet Protocol Version 4; IPv4) โพรโทคอลรุ่นใหม่ได้ขยายขนาดของที่อยู่จาก 32 บิตเป็น 128 บิต ซึ่งช่วยให้ระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่เติบโตได้อีกมาก ส่วนรุ่นปัจจุบันนี้ก็จะเริ่มถึงจุดที่ไม่สามารถขยายตัวได้อีก
(3) โพรโทคอลสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
โพรโทคอลที่สร้างขึ้นมาสำหรับการให้บริการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail) ได้แก่ โพรโทคอล X.400 X.500 และ SMTP โดยเฉพาะ โพรโทคอล X.400 เป็นมาตรฐานที่กำหนดวิธีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก มีโครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical) โดยมีชื่อประเทศอยู่ชั้นบนสุด ตามด้วยประเภทองค์กร ชื่อองค์กร และปิดท้ายด้วยชื่อผู้รับ เนื่องจากเป็นการทำงานที่ติดต่อกับโปรแกรมผู้ใช้โดยตรง โพรโทคอลนี้จึงจัดอยู่ในชั้นสื่อสารโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลโอเอสไอ
(4) โพรโทคอลแบบอื่น ๆ สำหรับระบบอินเทอร์เน็ต
โพรโทคอลแบบอื่นอีกจำนวนหนึ่งทำงานอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บริการในด้านต่าง ๆ กัน เช่น โพรโทคอลเอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) ใช้สำหรับการสร้างสำเนาแฟ้มข้อมูล (Copy File) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตัวโพรโทคอลเอฟทีพีจะทำหน้าที่ในระดับชั้นสื่อสารโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพีไอพี ที่อยู่ในชั้นสื่อสารระดับล่าง ความนิยมของผู้ใช้ทั่วไปทำให้โพรโทคอลนี้กลายเป็นส่วนประกอบของโปรแกรมอื่นโดยเฉพาะโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อย่างไออี (IE) หรือเนสเคป (Netscape)
1.4 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
การนำเครื่องพีซีจำนวนหนึ่งมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายในบริเวณที่จำกัด เช่น ภายในห้องทำงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลและอุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน ลักษณะโครงสร้างคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้เรียกว่าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ในขณะที่โครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า ระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลที่มีใช้งานกับเครื่องเมนเฟรมมักจะเป็นแบบที่เรียกว่า Proprietary คือมีคุณลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นใช้งานกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ในระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณมีกระบวนการสร้างขึ้นมาใช้งานต่างออกไป กล่าวคือผู้ใช้มักจะเป็นผู้สร้างระบบ ขึ้นมาเอง
1.5 โพรโทคอล X. PC
โพรโทคอล X.PC ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Tymnet สำหรับการเปลี่ยน รูปแบบของข้อมูลที่ส่งมาในแบบอะซิงโครนัสให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งออกไปทางระบบเครือข่ายแบบสวิทซิ่งได้ นั่นคือการแปลงข้อมูลแบบอะซิงโครนัสที่ส่งมาจากเครื่องพีซีเพื่อส่งออกไปทางระบบเครือข่าย X.25 ซึ่งทำงานในระบบซิงโคนัส โพรโทคอลนี้ยังช่วยให้เครื่องพีซีสามารถเปิดช่องสื่อสาร (Session) ได้มากกว่าหนึ่งช่องทางพร้อมกัน ซึ่งหมายถึงคือเครื่องพีซีสามารถติดต่อกับโฮสต์หลายโฮสต์ได้พร้อมกัน และยังมาใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องพีซีด้วยกันเอง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลแบบซ้ำซ้อนแบบวนซ้ำ (CRC) เหมือนกับโพรโทคอลเคอร์มิท
1.6 โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต
โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต (Ethernet Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Xerox Corporation เป็นโพรโทคอลที่สร้างขึ้นมาเป็นกลุ่มแรกสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แม้ว่าโพรโทคอลนี้จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดหรือไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนมากนักทั้งในการติดตั้งและในระหว่างการใช้งาน และมีความไว้วางใจได้ในระดับที่ดีมาก ระบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 Mbps ในรุ่นใหม่ เรียกว่า Fast Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 100 Mbps และรุ่นล่าสุด เรียกว่า Gigabit Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 1,000 Mbps
1.6.1 โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น
โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น (Token Passing) ปรับปรุงวิธีการใช้สายสื่อสารของโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โพรโทคอลนี้จะใช้ข้อมูลพิเศษเรียกว่า โทเก้น (Token) ซึ่งมีขนาดหลายบิตส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายเดียวกัน อุปกรณ์ใดต้องการส่งข้อมูลก็จะต้องมีโทเก้นไว้ในครอบครองก่อน
1.7 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สายนับว่าเป็นระบบที่ใหม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายแบบอื่น การออกแบบโพรโทคอลจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการส่งข้อมูลในรูปแบบของคลื่นวิทยุและการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอื่น โพรโทคอลสองแบบที่นิยมนำมาใช้งานคือ CDPD และ WAP
1.7.1 โพรโทคอล CDPD
โพรโทคอล CDPD (Cellular Digital Packet Data) หรือ Wireless IP ช่วยให้ ผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์สื่อสารโมเด็มแบบไร้สายสามารถส่งแพ็กเกตข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแพ็กเกตสวิท ไร้สาย (Wireless Packet Switched Digital Network) โพรโทคอล CDPD ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ที่ความเร็วไม่เกิน 19.2 Kbps โดยการส่งสัญญาณสลับกับเสียงสนทนาที่ใช้ความถี่เดียวกันในช่องสัญญาณเดียวกัน
1.7.2 โพรโทคอล WAP
โพรโทคอล WAP (Wireless Application Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากษริษัท Motorola, Nokia และ Phone.Com ในปี พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ให้บริการสำหรับโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งในที่นี้ยังคงจำกัดเพียงโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์เท่านั้น โพรโทคอลนี้ควบคุมการทำงานจากผู้ส่งข้อมูลไปจนถึงตัวผู้รับข้อมูล ซึ่งมีลักษณะแบบ Client/Server ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นจะต้องติดตั้งโปรแกรมควบคุมประเภท Client Software เรียกว่า WAP-enabled ส่วนผู้ให้บริการก็จะต้องติดตั้งโปรแกรม Server Software สำหรับควบคุมการติดต่อจากผู้ใช้ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
1.7.3 โพรโทคอล Apple Talk
บริษัท Apple Computers ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องพีซีอีกแบบหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ได้ออกแบบโพรโทคอลสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่อง Macintosh ของตนเองเข้าด้วยกัน เรียกว่า Apple Talk (เพื่อแข่งขันกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีในตระกูลไอบีเอ็ม) โพรโทคอลนี้ใช้วิธีการทำงานแบบ CSMA เหมือนกับที่ใช้บนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต แต่ไม่ใช้การตรวจจับสัญญาณซ้อนแบบ Carrier Detect (CD) บริษัทฯ ได้พัฒนาวิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดสัญญาณซ้อน เรียกว่า CA (Collision Avoidance) เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โพรโทคอลนี้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้มากที่สุดเพียง 32 เครื่อง และส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 230 Kbps ภายในระยะ 1,000 ฟุตเท่านั้น แต่ก็มีข้อดีตรงที่อุปกรณ์ระบบเครือข่ายจะติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบเครือข่ายได้ในทันที ซึ่งโครงสร้างของโพรโทคอล Apple Talk ที่สอดคล้องกับรูปแบบโอเอสไอดังภาพ
2.นศ.ใช้โพรโตคอลอะไรบ้าง จงอธิบายว่าทำอะไร
ตอบ โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี
ทำหน้าที่ โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol; TCP/IP) ได้รับการพัฒนาในปี พ.ศ. 2516 เพื่อใช้ในระบบเครือข่าย ARPANet ซึ่งเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน จึงจัดเป็นโพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้างรุ่นแรกที่มีการใช้งาน ต่อมาจึงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถอื่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเชื่อมต่อทางไกล (Remote Login) การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล (File Transfer) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) และการค้นหาเส้นทางข้อมูล (Routing) รวมทั้งสามารถใช้งานบนเครื่องพีซีได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2526 โพรโทคอลทีซีพี-ไอพีได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งโฮสต์ทุกโฮสต์จะต้องใช้โพรโทคอลนี้
babyliss pro titanium straightener - Titanium Art - TikTok
ตอบลบResults 1 - 12 of 566 — Explore titanium alloy nier replicant the complete archive of babyliss pro titanium flat iron the titanium vs steel author and see if he has found titanium scrap price the right ones. titanium easy flux 125 amp welder