วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รูปแบบการเชื่อมโยง

รูปแบบการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด
เชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point to Point) เป็นเชื่อมโยงเพียง 2 เครื่องผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวโดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology)ได้หลายรูปแบบ
-เหมาะกับงานที่รับส่งข้อมูลมากๆ และต่อเนื่องตลอดเวลา เช่น ตู้ ATM
-เทคนิคที่ใช้แก้ปัญหา (point to point) คือ การใช้อุปกรณ์สวิตช์ (Switching Network)











การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด (Point to Point)


















การเชื่อมต่อแบบ Bus
ลักษณะการทำงาน
-ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป











ข้อดี
-ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
-สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
ข้อเสีย
-ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
-การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
การเชื่อมต่อแบบ Ring
-เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม
-ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน
-ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง













ข้อดี
-การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
-การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
ข้อเสีย
-ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
-เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

การเชื่อมต่อแบบ Star
-อนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว
-เป็นการเชื่อมต่ออีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน












ข้อดี
-การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย
-หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ
-ง่ายในการให้บริการเพราะการเชื่อมต่อแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม
ข้อเสีย
-ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
-ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าการเชื่อมต่อแบบบัส และ แบบวงแหวน

การเชื่อมโยงแบหลายจุด
-การเชื่อมโยงแบบหลายจุด (Multi Point) เป็นการใช้สายเพียงสายเดียว แต่เชื่อมโยงกับ Terminal ได้หลายๆ จุดพร้อมๆ กัน
-เหมาะกับงานที่รับส่งข้อมูลไม่ต่อเนื่องและไม่มากนัก เพื่อแชร์การใช้สายสื่อสารร่วมกัน











รูปแบบการเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง
-การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง ( Switching Network) เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดในการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดได้มากที่สุด
-ตัวอย่างเครือข่ายสวิตชิ่ง ได้แก่ เครือข่ายองค์การโทรศัพท์ เทเลกซ์ เครือข่ายแพ็กเกตสวิตซ์ชิ่ง (Packet Switching Network)
-อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สลับสายได้แก่ ชุมสายโทรศัพท์ ตู้สลับสายโทรศัพท์ อัตโนมัติ (PABX) และเซนเทรค (Centrex)


ในการทำงานของการเชื่อมโยงแบบสวิตซ์ชิ่งนั้น ประกอบด้วย
-การเชื่อมโยงการสื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนจะเริ่มส่ง - รับข้อมูล เช่น ต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ก่อนจะเริ่มพูดกับปลายทางได้ โดยมีเครือข่าย สวิตซ์ซิ่งเชื่อมโยงคอยสลับสายให้
-การเชื่อมโยงการสื่อสารจะเป็นแบบจุดต่อจุด คือ คุยกันแค่ 2 คนเท่านั้น
-เมื่อจบการส่งข้อมูลแล้ว จะต้องตัดการเชื่อมโยงระหว่าง 2 จุดนั้น เพื่อให้สายการสื่อสารว่าง เพื่อให้สายอื่นเชื่อมต่อได้












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น