วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

คำถามท้าย บทที่4

1.มีโพรโทคอลอะไรบ้าง และแต่ละโพรโทคอลมีหน้าที่ทำอะไร
ตอบ ประเภทของโพรโทคอล เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารแต่ละชนิดจะใช้โพรโทคอลต่างชนิดกัน เช่น เครื่องเมนเฟรมก็จะมีโพรโทคอลของตนเอง ซึ่งจะไม่เหมือนกับโพรโทคอลที่ใช้งานในเครื่องพีซีในทำนองเดียวกัน ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณก็ใช้โพรโทคอลที่แตกต่างไปจากโพรโทคอลที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง แม้ว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ออกมามากมายเพื่อทำให้โพรโทคอลสำหรับเครื่องชนิดเดียวกันหรือระบบเครือข่ายแบบเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่ก็ไม่มีวิธีการหรือ สูตรสำเร็จที่ใช้ในการแยกประเภทของโพรโทคอลโดยตรง เช่น โพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรมและโพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ตสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลเครื่องพีซีสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย และโพรโทคอลสำหรับเครื่องพีซีตระกูลแอปเปิล (Apple Macintosh) โพรโทคอลทั้งหมดในกลุ่มนี้จะอยู่ในประเภทโพรโทคอลชั้น เชื่อมต่อข้อมูล เนื่องจากมีการกำหนดรายละเอียดการทำงานในระดับชั้นเชื่อมต่อข้อมูลตามมาตรฐานรูปแบบโอเอสไอ

1.1 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง
ระบบเครือข่ายเริ่มต้นขึ้นมาจากการสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างที่เชื่อมต่อกับเครื่อง เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โพรโทคอลต่าง ๆ ถูกนำมาใช้งานและรวมกันเป็นโพรโทคอลที่ใช้อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มักไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงแต่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลปริมาณมาก ๆ เป็นระยะทางไกล ข้อกำหนดของโพรโทคอลจึงต้องจัดการเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการนำส่งข้อมูล

1.2 โพรโทคอลบนเครื่องเมนเฟรม
โพรโทคอลที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจการสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนใหญ่และมักจะขยายขอบเขตการใช้งาน สำหรับระบบ เครือข่ายวงกว้างด้วยตัวระบบเครือข่ายวงกว้างนั้นถูกนำไปใช้ในกิจการทางทหารตั้งแต่ ค.ศ. 1950 และนำมาใช้งานทางพลเรือนต่อมาโพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรม ได้แก่ โพรโทคอลจัดการระดับ ตัวอักษร โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ และโพรโทคอลจัดการระดับบิต นอกจากนี้ยังมี โพรโทคอล H.323 สำหรับการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ทางไกล และโพรโทคอล X.25 สำหรับการใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ

(1) โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร
โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร (Character–Oriented or Character Synchronous Protocols) เป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรม ซึ่งกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรประกอบด้วยข้อมูลขนาด 8 บิต แบบที่แพร่หลายที่สุดเรียกว่า แบบบีเอสซี (Binary Synchronous Communication; BSC or BISYNC) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปเป็นกลุ่มของตัวอักษรแบบ Synchronous ในลักษณะกึ่งสองทิศทาง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ในปี พ.ศ. 2510 และได้กลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมในยุดนั้น แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่มากในปัจจุบัน
โพรโทคอลบีเอสซี ใช้ตัวอักษรพิเศษกลุ่มหนึ่งสำหรับการควบคุมการทำงาน เช่น การส่งตัวอักษร SYN ในจังหวะที่เหมาะสมเพื่อให้โมเด็มทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถปรับจังหวะการทำงานให้สอดคล้องกัน ตัวอักษรพิเศษตัวอื่นใช้สำหรับการล้อมกรอบข้อมูลจริงเพื่อแสดงความหมาย ตัวอักษร STX ใช้บอกจุดเริ่มต้นของข้อมูล ตัว SOH แสดงจุดเริ่มต้นของข้อมูลควบคุม ตัว ETX บอกจุดสิ้นสุดของข้อมูล ตัว ETB บอกการสิ้นสุดการติดต่อ และตัว SYN ตัวอักษรควบคุมแต่ละตัวจะมีขนาด 8 บิตเท่ากันทั้งหมด
ปัญหาสำหรับโพรโทคอลบีเอสซี ที่มักจะไม่เกิดกับโพรโทคอลแบบอื่นคือ ในกรณีที่ข้อมูลจริงมีตัวอักษรที่ซ้ำกับตัวอักษรควบคุมแล้วจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถแยกความแตกต่างจากกันได้ ซึ่งเรียกปัญหานี้ว่า Transparency เช่น ข้อมูลจริงมีตัวอักษรที่เหมือนกับตัว EOT แทรกอยู่ เมื่อทางฝ่ายรับข้อมูลรับตัวอักษรนี้เข้าไปก็จะเข้าใจว่านี่คือจุดสิ้นสุดของข้อมูล แต่ ความจริงเป็นเพียงข้อมูลตัวหนึ่งเท่านั้น โพรโทคอลบีเอสซี แก้ไข้ปัญหานี้ด้วยการเพิ่มตัวอักษรพิเศษ DLE ใช้วางไว้ก่อนหน้าตัวอักษรพิเศษตัวอื่น ๆ ดังนั้นถ้าผู้รับไม่พบตัว DLE ก็จะมองตัวอักษรนั้น ๆ เป็นเพียงข้อมูลธรรมดา วิธีการนี้เรียกว่าทำงานใน Transparent Mode ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่ก็ ทำให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูล โพรโทคอล บีเอสซี ทำงานในแบบกึ่งสองทิศทางคือ ผู้รับและผู้ส่งจะต้องผลัดเปลี่ยนกันส่งข้อมูล หลังจากที่ผู้ส่งได้ส่งข้อมูลทั้งหมดออกไปแล้ว ก็จะต้องคอยการตอบรับ (ACK) หรือการตอบปฏิเสธ (NAK) จากผู้รับ ดังนั้นโพรโทคอลนี้จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในการส่งแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่หรืองานที่ใช้ในการ โต้ตอบระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูลอยู่เสมอ

(2) โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์
โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ (Byte-Count-Oriented Protocols) ปรับปรุงประสิทธิภาพของโพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษรพิเศษโดยการเพิ่มข้อมูล จำนวนไบต์ของข้อมูลในบล็อก หมายเลขที่อยู่บนเครือข่าย และตัวอักษรควบคุมบล็อกเข้าไปแทน

(3) โพรโทคอลจัดการระดับบิต
โพรโทคอลจัดการระดับบิต (Bit-Oriented Protocols) เป็นแนวทางการทำงานที่รวมข้อมูลจริงและข้อมูลควบคุมเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างเรียกว่าเฟรม (Frame) ซึ่งจะต้องกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลแต่ละส่วนออกไปใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ได้กำหนดโพรโทคอลประเภทนี้ขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลาย

(4) โพรโทคอลเอสเอ็นเอ
รูปแบบโครงสร้างแบบเอสเอ็นเอ (System Network Architecture; SNA) เป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างสำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมกับเทอร์มินอลที่มีใช้งานมานานแล้ว บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบเอสเอ็นเอขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยการกำหนดรายละเอียดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาในความแตกต่างของอุปกรณ์ในยุคนั้น เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มเป็นเจ้าของระบบเอสเอ็นเอ จึงเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็มเป็นหลัก อย่างไรก็ตามมีบริษัทอื่นอีกเป็นจำนวนมากที่ได้นำระบบเครือข่ายนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านั้นสามารถติดต่อกับระบบเครือข่ายของไอบีเอ็มและของผู้อื่นได้ ปัจจุบันระบบเอสเอ็นเอยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีระบบเครือข่ายอื่นที่ดีเกิดขึ้นมากมาย

(5) โพรโทคอล H.323
การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้

(6) โพรโทคอล X.25
คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25 ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับ


1.3 โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ต
โพรโทคอลที่ใช้สำหรับระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการกำหนดวิธีการติดต่อ สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่ายโพรโทคอลนี้จึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ เช่น โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 โพรโทคอลสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

(1) โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี
โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol; TCP/IP) ได้รับการพัฒนาในปี พ.ศ. 2516 เพื่อใช้ในระบบเครือข่าย ARPANet ซึ่งเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน จึงจัดเป็นโพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้างรุ่นแรกที่มีการใช้งาน ต่อมาจึงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถอื่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเชื่อมต่อทางไกล (Remote Login) การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล (File Transfer) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) และการค้นหาเส้นทางข้อมูล (Routing) รวมทั้งสามารถใช้งานบนเครื่องพีซีได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2526 โพรโทคอลทีซีพี-ไอพีได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งโฮสต์ทุกโฮสต์จะต้องใช้โพรโทคอลนี้

(2) โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6
โพรโทคอลไอพีรุ่นล่าสุดเรียกว่า โพรโทคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (Internet Protocol Version 6; IPv6) หรือเรียกว่า Internet Protocol Next Generation; IPNG รุ่นที่ใช้งานในปัจจุบันคือโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 4 (Internet Protocol Version 4; IPv4) โพรโทคอลรุ่นใหม่ได้ขยายขนาดของที่อยู่จาก 32 บิตเป็น 128 บิต ซึ่งช่วยให้ระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่เติบโตได้อีกมาก ส่วนรุ่นปัจจุบันนี้ก็จะเริ่มถึงจุดที่ไม่สามารถขยายตัวได้อีก

(3) โพรโทคอลสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
โพรโทคอลที่สร้างขึ้นมาสำหรับการให้บริการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail) ได้แก่ โพรโทคอล X.400 X.500 และ SMTP โดยเฉพาะ โพรโทคอล X.400 เป็นมาตรฐานที่กำหนดวิธีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก มีโครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical) โดยมีชื่อประเทศอยู่ชั้นบนสุด ตามด้วยประเภทองค์กร ชื่อองค์กร และปิดท้ายด้วยชื่อผู้รับ เนื่องจากเป็นการทำงานที่ติดต่อกับโปรแกรมผู้ใช้โดยตรง โพรโทคอลนี้จึงจัดอยู่ในชั้นสื่อสารโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลโอเอสไอ

(4) โพรโทคอลแบบอื่น ๆ สำหรับระบบอินเทอร์เน็ต
โพรโทคอลแบบอื่นอีกจำนวนหนึ่งทำงานอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บริการในด้านต่าง ๆ กัน เช่น โพรโทคอลเอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) ใช้สำหรับการสร้างสำเนาแฟ้มข้อมูล (Copy File) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตัวโพรโทคอลเอฟทีพีจะทำหน้าที่ในระดับชั้นสื่อสารโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพีไอพี ที่อยู่ในชั้นสื่อสารระดับล่าง ความนิยมของผู้ใช้ทั่วไปทำให้โพรโทคอลนี้กลายเป็นส่วนประกอบของโปรแกรมอื่นโดยเฉพาะโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อย่างไออี (IE) หรือเนสเคป (Netscape)

1.4 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
การนำเครื่องพีซีจำนวนหนึ่งมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายในบริเวณที่จำกัด เช่น ภายในห้องทำงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลและอุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน ลักษณะโครงสร้างคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้เรียกว่าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ในขณะที่โครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า ระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลที่มีใช้งานกับเครื่องเมนเฟรมมักจะเป็นแบบที่เรียกว่า Proprietary คือมีคุณลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นใช้งานกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ในระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณมีกระบวนการสร้างขึ้นมาใช้งานต่างออกไป กล่าวคือผู้ใช้มักจะเป็นผู้สร้างระบบ ขึ้นมาเอง

1.5 โพรโทคอล X. PC
โพรโทคอล X.PC ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Tymnet สำหรับการเปลี่ยน รูปแบบของข้อมูลที่ส่งมาในแบบอะซิงโครนัสให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งออกไปทางระบบเครือข่ายแบบสวิทซิ่งได้ นั่นคือการแปลงข้อมูลแบบอะซิงโครนัสที่ส่งมาจากเครื่องพีซีเพื่อส่งออกไปทางระบบเครือข่าย X.25 ซึ่งทำงานในระบบซิงโคนัส โพรโทคอลนี้ยังช่วยให้เครื่องพีซีสามารถเปิดช่องสื่อสาร (Session) ได้มากกว่าหนึ่งช่องทางพร้อมกัน ซึ่งหมายถึงคือเครื่องพีซีสามารถติดต่อกับโฮสต์หลายโฮสต์ได้พร้อมกัน และยังมาใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องพีซีด้วยกันเอง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลแบบซ้ำซ้อนแบบวนซ้ำ (CRC) เหมือนกับโพรโทคอลเคอร์มิท

1.6 โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต
โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต (Ethernet Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Xerox Corporation เป็นโพรโทคอลที่สร้างขึ้นมาเป็นกลุ่มแรกสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แม้ว่าโพรโทคอลนี้จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดหรือไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนมากนักทั้งในการติดตั้งและในระหว่างการใช้งาน และมีความไว้วางใจได้ในระดับที่ดีมาก ระบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 Mbps ในรุ่นใหม่ เรียกว่า Fast Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 100 Mbps และรุ่นล่าสุด เรียกว่า Gigabit Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 1,000 Mbps

1.6.1 โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น
โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น (Token Passing) ปรับปรุงวิธีการใช้สายสื่อสารของโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โพรโทคอลนี้จะใช้ข้อมูลพิเศษเรียกว่า โทเก้น (Token) ซึ่งมีขนาดหลายบิตส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายเดียวกัน อุปกรณ์ใดต้องการส่งข้อมูลก็จะต้องมีโทเก้นไว้ในครอบครองก่อน

1.7 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สายนับว่าเป็นระบบที่ใหม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายแบบอื่น การออกแบบโพรโทคอลจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการส่งข้อมูลในรูปแบบของคลื่นวิทยุและการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอื่น โพรโทคอลสองแบบที่นิยมนำมาใช้งานคือ CDPD และ WAP

1.7.1 โพรโทคอล CDPD
โพรโทคอล CDPD (Cellular Digital Packet Data) หรือ Wireless IP ช่วยให้ ผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์สื่อสารโมเด็มแบบไร้สายสามารถส่งแพ็กเกตข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแพ็กเกตสวิท ไร้สาย (Wireless Packet Switched Digital Network) โพรโทคอล CDPD ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ที่ความเร็วไม่เกิน 19.2 Kbps โดยการส่งสัญญาณสลับกับเสียงสนทนาที่ใช้ความถี่เดียวกันในช่องสัญญาณเดียวกัน

1.7.2 โพรโทคอล WAP
โพรโทคอล WAP (Wireless Application Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากษริษัท Motorola, Nokia และ Phone.Com ในปี พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ให้บริการสำหรับโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งในที่นี้ยังคงจำกัดเพียงโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์เท่านั้น โพรโทคอลนี้ควบคุมการทำงานจากผู้ส่งข้อมูลไปจนถึงตัวผู้รับข้อมูล ซึ่งมีลักษณะแบบ Client/Server ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นจะต้องติดตั้งโปรแกรมควบคุมประเภท Client Software เรียกว่า WAP-enabled ส่วนผู้ให้บริการก็จะต้องติดตั้งโปรแกรม Server Software สำหรับควบคุมการติดต่อจากผู้ใช้ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย

1.7.3 โพรโทคอล Apple Talk
บริษัท Apple Computers ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องพีซีอีกแบบหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ได้ออกแบบโพรโทคอลสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่อง Macintosh ของตนเองเข้าด้วยกัน เรียกว่า Apple Talk (เพื่อแข่งขันกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีในตระกูลไอบีเอ็ม) โพรโทคอลนี้ใช้วิธีการทำงานแบบ CSMA เหมือนกับที่ใช้บนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต แต่ไม่ใช้การตรวจจับสัญญาณซ้อนแบบ Carrier Detect (CD) บริษัทฯ ได้พัฒนาวิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดสัญญาณซ้อน เรียกว่า CA (Collision Avoidance) เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โพรโทคอลนี้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้มากที่สุดเพียง 32 เครื่อง และส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 230 Kbps ภายในระยะ 1,000 ฟุตเท่านั้น แต่ก็มีข้อดีตรงที่อุปกรณ์ระบบเครือข่ายจะติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบเครือข่ายได้ในทันที ซึ่งโครงสร้างของโพรโทคอล Apple Talk ที่สอดคล้องกับรูปแบบโอเอสไอดังภาพ

2.นศ.ใช้โพรโตคอลอะไรบ้าง จงอธิบายว่าทำอะไร
ตอบ โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี
ทำหน้าที่ โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol; TCP/IP) ได้รับการพัฒนาในปี พ.ศ. 2516 เพื่อใช้ในระบบเครือข่าย ARPANet ซึ่งเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน จึงจัดเป็นโพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้างรุ่นแรกที่มีการใช้งาน ต่อมาจึงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถอื่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเชื่อมต่อทางไกล (Remote Login) การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล (File Transfer) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) และการค้นหาเส้นทางข้อมูล (Routing) รวมทั้งสามารถใช้งานบนเครื่องพีซีได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2526 โพรโทคอลทีซีพี-ไอพีได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งโฮสต์ทุกโฮสต์จะต้องใช้โพรโทคอลนี้