วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้าย บทที่2 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล

1.สื่อกลางแยกออกเป็นกี่ประเภท ในแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อกลางแต่ละประเภทที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล โดยสื่อกลางที่ใช้ส่งผ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่อกลางประเภทใช้สาย และสื่อกลางประเภทไร้สาย
สื่อกลาง คือส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และเป็นเส้นทางเดินของข้อมูล ข่าวสาร จากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อกลางสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. สื่อกลางประเภทมีสาย (wired system) สื่อกลางประเภทมีสาย หมายถึง สื่อกลางที่เป็นสายซึ่งใช้ในการเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และอุปกรณ์ในระยะทางที่ห่างกันไม่มากนัก เช่น
1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) เป็นเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้น พันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มากระทบความเร็วของการส่งข้อมูลในสายคู่บิดเกลียวประมาณ 100 เมกะบิตต่อวินาที (ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร) สายคู่บิดเกลียวที่นิยมใช้กันมากคือ สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (unshielded twisted pair : UTP) สาย UTP ที่พบเห็นใช้ทั่วไป เช่น สายโทรศัพท์ที่มีสายทองแดง 2 คู่ (ใช้กับหัวต่อ RJ-11) สาย UTP สำหรับหัวต่อ RJ- 45 มีสายทองแดง 4 คู่ ใช้เพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์






1.2 สายโคแอกเซียล (coaxial cable) สายโคแอกเซียลมีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากแผงรับสัญญาณมายังโทรทัศน์ มีอยู่ 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ใช้ส่งข้อมุลประเภทดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ใช้ส่งข้อมูลประเภทแอนะล็อก สายโคแอกเซียลจะมีลวดทองแดงพันเป็นเกลียวอยู่ถัดจากชั้นฉนวนพลาสติดนอกสุด เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ สายโคแอกเซียลสามารถให้ความถี่สัญญาณไฟฟ้าได้กว้างถึง 500 MHz จึงเหมาะสำหรับใช้เชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน







1.3 เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) มีแกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้ว หรือพลาสติกขนาดเล็กหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน การส่งสัญญาณจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใย ทำให้ไม่มีการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถส่งด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งภาพกราฟิก อักษร เสียง หรือวีดิทัศน์ ได้ในเวลาเดียวกัน และมีความปลอดภัยขึ้นการในส่งข้อมูล









2. สื่อกลางประเภทไร้สาย (wireless system) ในบางสถานการณ์นั้นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์โดยใช้สื่อกลางประเภทใช้สายอาจทำได้ไม่สะดวกนัก จึงจำเป็นต้องใช้สื่อกลางประเภทไร้สาย ซึ่งจะส่งผ่านข้อมูลด้วยการแพร่สัญญาณในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านไปในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย เช่น
2.1 ไมโครเวฟ (terrextrial microwave) เป็นการแพร่สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะที่เดินทางเป็นเส้นตรง จากจานส่งที่ติดตั้งอยู่บนเสาหรือบนยอดดอยอาคารไปยังจานรับสัญญาณปลายทางในลักษณะเส้นสายตา (light of sight) หมายความว่า ถ้าส่องไฟออกจากจานด้านที่ส่งสัญญาณแล้วจานด้านที่รับสัญญาณจะต้องสามารถมองเห็นแสงไฟที่ส่องนั้นได้ ดังนั้น จานที่ใช้รับหรือส่งสัญญาณมักจะต้องติดตั้งอยู่บนที่สูง ๆ เพื่อให้พ้นจากสิ่งกีดขวางและช่วยให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ๆ หากมีตึกหรือภูเขากั้นระหว่างจานส่งต้นทางและจานรับปลายทางแล้ว จะต้องติดตั้งจานรับส่งบนยอดของสิ่งกีดขวางนั้น ๆ เพื่อให้ส่งสัญญาณต่อกันเป็นทอด ๆ ออกไป ซึ่งจานรับส่งแต่ละอันจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไมโครเวฟ เพื่อส่งต่อทอดออกไปจนกว่าสัญญาณจะเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ระบบไมโครเวฟนี้มีราคาถูก ติดตั้งใช้งานได้ง่ายและสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูง จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ใช้งานที่ไม่สามารถติดตั้งสื่อกลางประเภทใช้สายได้ แต่สัญญาณไมโครเวฟอาจถูกรบกวนจากพายุ ลม ฝน หรือแม้กระทั่งอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำให้สัญญาณอาจขาดหายไปในระหว่างการส่งได้










2.2ดาวเทียม (satellite system) ในปัจจุบันมีการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ งานบริการด้านโทรศัพท์ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ งานด้านการทหาร งานประชุมทางไกล รวมทั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลักการทำงานของระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ซึ่งจะทำการส่งสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปจนถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือตำแหน่งพื้นที่ของตนเอง เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น และดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง
2.3 คลื่นวิทยุ (radio) เป็นการแพร่สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในคลื่นความถี่ตั้งแต่ 30 เมกกะเฮิตรซ์ (MHz) จนถึง 1 กิกะเฮิตรซ์ (GHz) เหมาะสำหรับการกระจายเสียง เนื่องจากคลื่นวิทยุไม่สะท้อนที่ชั้นบรรยากาศ จึงไม่เกิดการรบกวนของคลื่นวิทยุที่ตัวเครื่องรับแม้จะอยู่ในระยะทางไกล แต่คลื่นวิทยุจะแพร่กระจายไปทั้วทุกทิศทาง จึงมีความปลอดภัยของข้อมูลน้อย คลื่นวิทยุถูกนำมาใช้เป็นระบบวิทยุสื่อสารในงานด้านการขนส่ง หรือการสื่อสารในรถแท็กซี่ หรืองานด้านการทหารและตำรวจ เป็นต้น




2.สาย UTP CAT5e และ CAT6 คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ UTP CAT5e มี 2 แบบ ก็คือ แบบธรรมดา กับแบบที่มี shield ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะของสายที่ใช้เดินนับจาก SWITCH ไปยังเครื่อง USER นั้น ระยะไม่เกิน 100 เมตร ข้อมูลลึกๆ สาย UTP มี Diameter อยู่ที่ 24 AWG มี 2 ลักษณธคือสายที่เป็นแบบอ่อนและแบบแข็ง ซึ่งเรียกแตกต่างกันคือ คือ SOLID กับ STAN ซึ่งการใช้งานนั้นสายอ่อนจะใช้ทำสาย PATCH CORD และสายแข็งไว้เดินไปยังจัดต่างๆ ที่อยู่ในที่ปกปิดเช่นผนัง ฝ้า ฯลฯ
UTP CAT6 มี 2 แบบ ก็คือ แบบธรรมดา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะของสายที่ใช้เดินนับจาก SWITCH ไปยังเครื่อง USER นั้น ระยะไม่เกิน 100 เมตร ข้อมูลลึกๆ สาย UTP มี Diameter อยู่ที่ 23 AWG มี 2 ลักษณะคือสายที่เป็นแบบอ่อนและแบบแข็ง ซึ่งเรียกแตกต่างกันคือ คือ SOLID กับ STAN ซึ่งการใช้งานนั้นสายอ่อนจะใช้ทำสาย PATCH CORD และสายแข็งไว้เดินไปยังจัดต่างๆ ที่อยู่ในที่ปกปิดเช่นผนัง ฝ้า ฯลฯ การเข้าหัวสาย UTP (Cat5)แบบ RJ-45การเข้าหัวสาย UTP แบบ RJ-45 เพื่อนำไปใช้ในระบบ LAN สายนี้สามารถใช้ได้กับระบบ LAN ที่มีความเร็ว 10 หรือ 100 Mbps ได้ทั้ง 2 ระดับ แต่ถ้าจะใช้ที่ระดับ 100Mbps ควรใช้เส้นค่อนข้างสั้นและต้องเป็นเกรดดีสักหน่อย ประเภทของสาย UTPสาย UTP สำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน
1. สายตรง (Straight-though Cable) คือสายปกติทั่วไปที่ใช้เชื่อต่อระหว่างการ์ด LAN และ Hub/Switch
2. สายไขว้ (Crossover Cable) โดยส่วนมากเชื่อมต่อระหว่างการ์ด LAN 2 การ์ด เพื่อให้เครื่องพีซี 2 ตัว สามารถติดต่อกันได้โดยตรงไม่ต้องผ่าน Hub หรือ Switch นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื่อมต่อ Hub หรือ Switch 2 ตัวเข้าด้วยกันเพื่อขยายพอร์ต ซึ่งเราเรียกการต่อแบบนี้ว่า Cascade นั่นเอง สิ่งที่ต้องเตรียมในการเข้าหัวสาย LAN1. เครื่องมือสำหรับเข้าหัวสาย (RJ-45 Crimping Tool)2. หัวต่อ RJ-453. สาย UTP แบบ Category 5 (CAT5) ภายในลวด 8 เส้น


3.หลักการเลือกสื่อกลางในการใช้งาน มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หลักการเลือกสื่อกลางในการใช้งานการพิจารณาเลือกสื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นจะต้องคำนึงถึงสื่อประเภทเดิมที่มีใช้งานอยู่แล้ว และมูลค่าสำหรับการนำสื่อชนิดใหม่มาทดแทนสื่อแบบเดิม ในกรณีที่กำลังพัฒนาระบบใหม่ทั้งระบบ ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาในเรื่องราคาของสื่อที่ใช้ ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลอัตราความผิดเพี้ยนของข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูลที่ถูกส่งออกไปในสื่อนั้น
3.1 ราคาของสื่อกลาง ในปัจจุบันสื่อชนิดที่มีราคาต่ำสุดนั้นคือสายยูทีพี มีราคาทั่วไปประมาณเมตรละ 18-50 บาทขึ้นอยู่กับประเภทของสาย จึงทำให้สายชนิดนี้เป็นที่นิยมในการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง การเพิ่มเติมหรือขยายระบบเครือข่ายในภายหลังก็สามารถทำได้โดยง่าย แนวโน้มราคาของสายชนิดนี้ก็จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ปัญหาประการเดียวที่ต้องระมัดระวังคือ ประเภทของสายที่จำเป็นจะต้องเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมเท่านั้น สายโคแอกเซียลมีราคาสูงกว่าสายยูทีพี แต่ก็ยังคงมีราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสง โดยทั่วไปสายชนิดนี้มีราคาอยู่ที่ประมาณเมตรละ 50-100 บาท เนื่องจากความทนทานและช่องสื่อสารขนาดกว้างมาก อาคารทั่วไปจึงยังคงใช้สายโคแอกเซียลเป็นหลักหรือใช้ควบคู่กับสายยูทีพี ในการเดินสายระหว่างส่วนต่าง ๆ หรือระหว่างชั้นภายในอาคารนั้น สายประเภทที่มีราคาสูงสุดคือสายใยแก้วนำแสง ถ้าจำนวนสาย 4-8 Core ราคาต่อเมตร 300-500 บาท และจำนวนสาย 8-12 Core ราคา 400-800 บาท โดยไม่รวมค่าติดตั้ง ในประเทศไทยมีสายชนิดนี้อยู่ 2 แบบคือ แบบใช้เดินภายในอาคาร และแบบใช้เดินภายนอกอาคาร ซึ่งจะต้องมีฉนวนหุ้มพิเศษและโดยปกติจะต้องมีสายลวดสำหรับขึงระหว่างอาคารหรือเสาไฟฟ้า ส่วนจำนวนเส้นใยแก้วภายในสาย (Core) นั้นมักจะไม่มีให้เลือกมากนัก สายใยแก้วนำแสงมีแนวโน้มที่ราคาจะถูกลงเรื่อย ๆ จากคุณสมบัติพิเศษที่เหนือกว่าสายชนิดอื่นทำให้สายชนิดนี้กำลังได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานมากขึ้น ราคาของสื่อกลางไม่ได้เป็นตัวประกอบเพียงอย่างเดียวในการพิจารณา เช่น การเดินสายระยะประมาณ 80 กิโลเมตรนั้น อาจพิจารณาเลือกใช้สายวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์ (Leased Telephone Line) หรือจากบริษัทเอกชนซึ่งอาจมีราคาที่ต่ำกว่าการลงทุนเดินสายเองทั้งหมด และในหลายโอกาสก็ไม่สามารถจะดำเนินการเองได้แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าก็ตาม การเชื่อมต่อในระยะทางไกลอาจเลือกใช้การเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมแทนการใช้สายประเภทต่าง ๆ เนื่องจากข้อได้เปรียบของการใช้ดาวเทียมนั้นไม่มีความจำเป็นจะต้องเดินสายใด ๆ โดยปกติราคาสำหรับค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจะขึ้นอยู่กับความเร็วที่ต้องการและระยะเวลาที่ต้องการใช้ อย่างไรก็ตาม อัตราค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมมักจะมีราคาที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าเช่าสายชนิดอื่น ๆ จึงมักเลือกใช้ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้

3.2 ความเร็วในการส่งข้อมูล ความเร็วในการส่งข้อมูล (Speed) ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ สายยูทีพีลำดับขั้น 1 (Category 1) ได้ถูกนำมาใช้งานนานมากแล้วจึงเป็นสายที่มีความเร็วต่ำที่สุด ส่วนสายโคแอกเซียล สายยูทีพีลำดับขั้น 5 (Category 5) ไมโครเวฟทั้งแบบบนพื้นดินและแบบผ่าน ดาวเทียมมีความเร็วสูงขึ้นตามลำดับ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสายใยแก้วนำแสงเป็นสื่อที่มีระดับความเร็วสูงสุด ดังตารางที่ 3.2
ตารางที่ 3.2 แสดงความเร็วของสื่อกลางชนิดต่าง ๆ (ต่อ)











3. 3 อัตราการผิดพลาดของข้อมูล องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการพิจารณาเลือกสื่อที่เหมาะสมในระบบเครือข่ายคือวิธีการกำจัดหรือลดความผิดพลาดของข้อมูล สื่อที่มีอัตราการส่งข้อมูลสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความผิดเพี้ยนของข้อมูลสูงตามไปด้วย ทำให้ความเร็วนั้นไม่มีความหมายหรือมีความสำคัญลดลง โดยปกติสื่อ (Media) ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความเร็วที่กำหนดให้ใช้อยู่แล้ว นั่นคือจะมีโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดน้อยมาก ยกเว้นในกรณีที่ผู้ใช้นำสื่อไปใช้ส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงเกินกำหนดส่วนการส่งข้อมูลด้วยความเร็วต่ำกว่าเกณฑ์ของสื่อใด ๆ ก็ตามจะไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรืออย่างน้อยที่สุดอัตราการเกิดข้อผิดพลาดก็จะไม่เพิ่มขึ้น ข้อผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้น เช่น ผู้ส่งได้ส่งข้อมูลออกไปเป็นบิท “1” แต่ผู้รับเห็นเป็นบิท “0” หรือรับไม่ได้เลย เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดเพี้ยนของสัญญาณ (Distortion) ซึ่งเป็น คุณสมบัติตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ความแรงหรือความเข้มของสัญญาณลดลง เนื่องจากระยะทางไกลเกินไปหรือสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์สลับช่องสัญญาณหรือสัญญาณรบกวนที่เกิดจากฟ้าผ่าลงมาโดยตรงหรือที่จุดใกล้สายสื่อสารมาก สื่อบางชนิดถูกรบกวนได้โดยง่ายจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าหรือจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าเอง เช่น สายยูทีพี หรือสายโคแอกเซียล ในขณะที่สัญญาณในสายใยแก้วจะไม่ถูกรบกวนเลย สัญญาณไมโครเวฟแบบพื้นดินและแบบดาวเทียมจะถูกรบกวนจากสภาพภูมิอากาศ และจากจุดดำบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) สัญญาณไมโครเวฟยังเกิดการรบกวนกันเองถ้าใช้ความถี่เดียวกันหรือความถี่ที่ใกล้เคียงกันมากเกินไป การรบกวนในรูปแบบต่าง ๆ จะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลได้โดยตรง การเลือกใช้สื่อกลางจำเป็นจะต้องพิจารณาเป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด หรือจะต้องสามารถตรวจหาและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ได้
3.4 ความปลอดภัย (Security) ข้อพิจารณาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของความปลอดภัยในที่นี้หมายถึงความพยายามในการขโมยข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น สายยูทีพี สายโคแอกเซียล และสายทุกชนิดที่ใช้ลวดทองแดงเป็นพาหะในการส่งข้อมูลนั้นมีความปลอดภัยในระดับต่ำมาก การขโมยข้อมูลจากสื่อที่เป็นสายลวดทองแดงนั้นทำได้ง่ายมากโดยการปอกฉนวนหุ้มภายนอกออกแล้วใช้สายอีกเส้นหนึ่งที่เป็นลวดทองแดงเหมือนกันมาเชื่อมติดกัน เรียกว่าการแท็ปสาย เพียงเท่านั้น ข้อมูลที่ส่งผ่านสายเส้นแรกก็จะถูกส่งเข้าไปยังสายเส้นใหม่ด้วย การตรวจหาการขโมยสัญญาณด้วยวิธีนี้ทำได้ยากมาก ดังนั้นสายประเภทนี้จึงควรเดินร้อยเข้าไปท่อโลหะหรือเดินผ่านสถานที่ที่มีความปลอดภัยเท่านั้น สายใยแก้วนำแสงนั้นยากแก่การขโมยสัญญาณด้วยวิธีการแท็ปสายเพราะจะถูกตรวจพบได้ง่ายมาก ลำแสงที่เป็นพาหะนำสัญญาณภายในสายนั้นจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อุปกรณ์ทางฝั่งผู้รับจึงจะสามารถรับข้อมูลที่ส่งมาได้ การตัดสายหรือการเชื่อมสายใยแก้วนำแสงจะทำให้ลำแสงภายในสายนั้นเกิดการหักเหและทำให้ผู้รับไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ จึงทำให้ระบบการสื่อสารผ่านสายเส้นนั้นเกิดการหักเหและทำให้ผู้รับไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ จึงทำให้การสื่อสารผ่านสายเส้นนั้นหยุดลงในทันที ในเวลาเดียวกันคุณสมบัติข้อนี้ทำให้การซ่อมแซมสายใยแก้วนำแสงที่เกิดการชำรุด เนื่องจากการใช้งานตามปกตินั้นไม่สามารถกระทำได้หรืออาจจะต้องใช้ทรัพยากรหรือมูลค่าในการซ่อมแซมสูงมาก การส่งข้อมูลด้วยคลื่นสัญญาณความถี่ต่าง ๆ นั้นเป็นวิธีการที่มีความปลอดภัยน้อย ที่สุด เนื่องจากผู้ที่ต้องการขโมยสัญญาณเพียงแค่ใช้เสาอากาศหรือจานรับสัญญาณดาวเทียมวางไว้ในจุดที่เหมาะสมก็จะสามารถรับข้อมูลทั้งหมดโดยไม่มีทางถูกตรวจพบได้เลย การรักษาความปลอดภัยจึงทำได้เพียงทางเดียวคือการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ก่อนที่จะถูกส่งออกไป และทำการถอดรหัสข้อมูลทางฝั่งผู้รับ ผู้ที่ขโมยสัญญาณไปก็จะได้สัญญาณที่ถูกเข้ารหัสไว้ ซึ่งก็จะไม่สามารถทราบ ได้ว่าข้อมูลที่แท้จริงนั้นคืออะไร ตัวอย่างเช่นสัญญาณโทรทัศน์ของบริษัทยูบีซีที่ส่งมาทางสายใยแก้วนำแสงนั้นได้ถูกเข้ารหัสไว้ ถ้าผู้ใช้นำสายอากาศมาต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์โดยตรงก็จะไม่สามารถรับชมรายการใด ๆ ได้เลย ดังนั้นผู้ใช้จึงจำเป็นต้องมีกล่องรับสัญญาณ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถอดรหัสทำให้สามารถรับชมรายการต่าง ๆ ได้ตามปกติ ข้อเสียของวิธีการเข้ารหัสข้อมูลคือ ถ้าการถอดรหัส ข้อมูลเป็นวิธีการที่ง่ายเกินไปการเข้ารหัสก็จะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย



4.การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ การเชื่อมโยงระบบเครือข่าย 2 ประเภท การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลและโฮสต์ถูกกำหนดโดย ลักษณะของการเชื่อมต่อสาย (Line Configuration) ซึ่งมีแบบที่นิยมใช้สองแบบคือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบหลายจุด ความแตกต่างของ ทั้งสองแบบอยู่ที่วิธีการสื่อสารระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอลหรืออุปกรณ์บนเครือข่ายมีรายละเอียดดังนี้
4.1 การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด (Point-to-Point) เป็นการใช้สายสื่อสารเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องผู้ส่งและเครื่องผู้รับ ในที่นี้ก็คือโฮสต์จะมีสายหนึ่งเส้นเชื่อมต่อไปยังเทอร์มินอลแต่ละตัว สายแต่ละเส้นในระบบนี้จึงมีอุปกรณ์อยู่เพียงตัวเดียวซึ่งจะต่อเข้ากับตัวควบคุมการสื่อสาร(Communication Controller) แล้วจึงต่อเข้ากับโฮสต์อีก














ภาพที่ 4.1 แสดงการต่อแบบจุด - ต่อ - จุด

การสื่อสารแบบนี้ โฮสต์จะทราบในทันทีว่าข้อมูลถูกส่งมาจากเทอร์มินอลใด และสามารถส่งข้อมูลกลับไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และเทอร์มินอลแต่ละตัวก็สามารถส่งข้อมูลมายังโฮสต์ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการสื่อสารข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญคือ ถ้ามีเทอร์มินอลจำนวน 500 เครื่องก็จำเป็นจะต้องใช้สายสื่อสาร 500 เส้น และต้องใช้จุดเชื่อมต่อ 500 จุด โดยปกติการเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด จะใช้ระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอื่น

4.2 การเชื่อมต่อแบบหลายจุด การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint or Multidrop) ซึ่งมีอุปกรณ์จำนวนหนึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวร่วมกัน (Shared Circuit) ดังนั้น เทอร์มินอลจะส่งสัญญาณออกมาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีเทอร์มินอลเครื่องอื่นกำลังส่งสัญญาณ ถ้าเทอร์มินอลหรืออุปกรณ์ใด ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปส่งสัญญาณออกมาพร้อมกัน ก็จะมีสภาพคล้ายกับคนสองคนพูดขึ้นมาในเวลาเดียวกัน ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถรับฟังข้อความได้













ภาพที่ 4.2 แสดงการต่อแบบหลายจุด
จำนวนสูงสุดของเทอร์มินอลที่ใช้สายสื่อสารร่วมกัน สามารถคำนวณหาได้จาก องค์ประกอบหลักคือ ความกว้างของช่องสื่อสารนั้น และปริมาณข้อมูลที่แต่ละเทอร์มินอลส่งออกมา ถ้าเทอร์มินอลมีปริมาณข้อมูลที่จะส่งมากก็จะทำให้เทอร์มินอลอื่นต้องรอนานขึ้น หรือถ้าเพิ่มจำนวนเทอร์มินอลเข้าไปก็จะส่งผลอย่างเดียวกัน ระยะเวลาตั้งแต่เทอร์มินอลรอคอยเพื่อส่งข้อมูลจนกระทั่งได้รับผลจากโฮสต์ เรียกว่า ระยะเวลาตอบสนอง (Response Time) เนื่องจากเทอร์มินอลสามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเครื่องเท่านั้น ในขณะที่มีเทอร์มินอลจำนวนหนึ่งต่ออยู่ในสายสื่อสารเส้นเดียวกัน โฮสต์จึงจำเป็นต้องมีวิธีการเลือกเทอร์มินอลเพื่อที่จะอนุญาตให้ส่งสัญญาณได้ ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณโฮสต์แก้ปัญหานี้ได้โดยใช้วิธีการแข่งขัน (Contention) เทอร์มินอลที่ต้องการส่งข้อมูลจะฟังสัญญาณในสายสื่อสาร ถ้าไม่มีผู้ใช้ (Idle) ก็จะส่ง ข้อมูลออกมาได้เลย หรือมิฉะนั้นก็จะต้องหยุดรอ ถ้าในจังหวะเดียวกันนั้นมีเทอร์มินอลอื่นส่งสัญญาณออกมาพร้อมกัน สัญญาณของทั้งสองเทอร์มินอลหรือมากกว่านี้จะเกิดการทับซ้อนกัน หรือชนกัน (Collision) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องหยุดส่งสัญญาณและถูกบังคับให้รอเป็นระยะเวลาหนึ่งที่ไม่เท่ากัน เทอร์มินอลที่หยุดรอจนครบวงรอบก่อนก็จะสามารถส่งสัญญาณได้ เทอร์มินอลที่เหลือก็จะพบว่าสายสัญญาณไม่ว่าง ซึ่งจะต้องหยุดรอ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เทอร์มินอลในกลุ่มนี้กำลังรออยู่นั้น อาจมีเทอร์มินอลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องและตรวจพบว่าสายสื่อสารว่าง ก็สามารถส่งสัญญาณได้เลย วิธีการนี้ดีพอสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณข้อมูลบนระบบเครือข่ายค่อนข้างน้อย ซึ่งจะไม่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ใช้งานอยู่ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น